เครื่องมือเกษตร   หมายถึง อุปกรณ์ ที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยทุ่นแรง และอำนวยความสะดวกในการทำงาน เครื่องมือเกษตรที่ดี ควรมีลักษณะเหมาะสมกับประเภทของงานนั้นๆและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ งานช่วยให้ทำการเกษตรมีประสิทธิภาพดี  ทำได้รวดเร็วและได้ผลดียิ่งขึ้น
เครื่องมือเกษตรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือเกษตรที่ใช้เกี่ยวกับพืช และเครื่องมือเกษตรที่ใช้เกี่ยวกับดิน
1.เครื่องมือเกษตรที่ใช้เกี่ยวกับพืช
   เป็นเครื่องมือที่ใช้กับพืชตั้งแต่การปลูก บำรุงรักษา และขยายพันธุ์ ซึ่งได้แก่
1.1 มีดเล็ก  มีขนาดเล็กลักษณะบางและคม  มีด้ามสำหรับถือ ใช้สำหรับควั่นกิ่ง        
      หรือโน้มกิ่ง หรือตัดกิ่งที่มีขนาดเล็กมีดติดตา 
1.2 มีดตอนกิ่งปลายมีดจะโค้งแหลมใช้สำหรับควั่นกิ่งตอน
1.3 มีดดายหญ้า  มีลักษณะยาว คม มีด้ามถือ ใช้สำหรับดายหญ้าหรือถางหญ้า
1.4 ถังน้ำ  ใช้สำหรับตักน้ำมารดพืชต่างๆ  โดยใช้มือวักน้ำจากถัง  หรือนำมาใส่
     บัวรดน้ำและใช้ในกิจกรรมต่างๆของเกษตรกรรม
1.5 บัวรดน้ำ  ใช้สำหรับรดน้ำต้นกล้า  หรือต้นพืชที่มีขนาดเล็ก  เพื่อป้องกันกิ่ง  
      ก้านของพืชช้ำเสียหาย
2. เครื่องมือเกษตรที่ใช้เกี่ยวกับดินได้แก่
2.1 ส้อมพรวนใช้สำหรับพรวนดินรอบๆต้นพืชให้ร่วมซุย
2.2 ช้อนปลูกใช้สำหรับขุดหลุมปลูกต้นพืช  ตักย้ายต้นกล้า ตักดิน และตักปุ๋ย
2.3 พลั่วใช้สำหรับตักดิน ปุ๋ย และอื่นๆที่ใช้ในกิจกรรมเกษตรกรรม
2.4 เสียมใช้สำหรับขุดหลุมปลูกพืช เป็นหลุมที่มีขนาดเล็กและลึก
2.5 คราดใช้สำหรับเก็บเศษหญ้า เศษใบไม้และใช้แต่งหน้าดิน บนแปลงปลูกพืช
2.6 จอบใช้สำหรับถากหญ้า  ขุดดิน  พรวนดิน  ย่อยดิน และขุดหลุมใหญ่ๆ
2.7 ปุ้งกี๋ใช้ขนดิน ปุ๋ย เศษหญ้า

 
   
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ปลูกและดูแลผักกาดหอม
                   
                       
ภาพที่ 1 ช้อนปลูก
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
   
                       
ช้อนปลูก เป็นเครื่องมือขนาดเล็กเป็นโลหะ ใช้ขุดหลุมปลูก(ดินที่ผสมแล้ว,ไม่แข็ง) ใช้ตักส่วนผสมของดินในกระถาง และผสมดิน แกลบดำ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกเข้าด้วยกัน        

การเก็บบำรุงรักษาช้อนปลูกหลังการใช้

หลังการใช้แล้ว ต้องล้างให้สะอาด  ผึ่งแดดให้แห้งหรือเช็ดด้วยผ้าสะอาด 
ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บในที่เก็บอุปกรณ์
       
                     

ภาพที่ 2 ส้อมพรวน
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ

     
                     
ส้อมพรวนดิน เป็นเครื่องมือขนาดเล็กใช้สำหรับพรวนดินรอบๆต้นพืชเพื่อ ให้รากได้อากาศและเจริญเติบโตได้ดี    

การเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือหลังการใช้

หลังการใช้แล้ว ต้องล้างให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้งหรือเช็ดด้วยผ้าสะอาด ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บในที่เก็บอุปกรณ์

   
                                 
  ภาพที่ 3 บัวรดน้ำ
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
             
                                 
บัวรดน้ำ เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำ ใช้รดน้ำพืชผักสวนครัวและต้นไม้ทั่วไป การใช้งานควรจับที่หิ้ว อาจใช้อีกมือประครองที่ด้านล่างของบัวได้    

การเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือหลังการใช้

หลังการใช้แล้ว ต้องล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้งหรือเช็ดด้วยผ้าสะอาด อย่าให้เศษหญ้าหรืออย่างอื่นอุดตัน แล้วคว่ำเก็บเข้าที่แล้วเก็บในที่เก็บอุปกรณ์

   
                             
  ภาพที่ 4 จอบ
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
         
                             

ใช้สำหรับขุดดิน ถากหญ้าขุดแปลง หรือใช้สำหรับขุดหลุม ใหญ่ ๆ กรณีที่ใช้เสียม
อาจจะทำให้ล่าช้าหรือไม่สามารถจะใช้ เสียมขุดได้เพราะดินแข็งเกินไป
(จอบจะใช้งานค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะจอบขุด)
ความปลอดภัยในการใช้ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าจอบเข้าด้ามแน่นหนาหรือไม่ ขณะที่ ใช้จอบต้องระวังเพื่อนที่อยู่ข้างเคียงและเท้าของผู้ใช้ด้วย

   
การเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือหลังการใช้
หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
   
                           
ภาพที่ 5 บุ้งกี๋
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
       
                           

บุ้งกี๋ ใช้สำหรับขนดิน ปุ๋ย  เศษใบไม้ใบหญ้า

การเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือหลังการใช้
หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง แล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

การเตรียมดิน
ดินปลูกนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกพืชผักดินปลูกพืชผักต้องมีคุณสมบัติมี
อินทรียวัตถุสูงมีการระบายน้ำได้ดี ซึ่งดินปลูกที่ดีต้องมีการผสมวัสดุหลายอย่างจึง
จะได้คุณสมบัติดังกล่าว โดยมีวัสดุผสมดินปลูกดังนี้

1.ดินร่วน

 
ภาพที่ 6 ดินร่วน
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
   
 

2. แกลบดำ

     
    ภาพที่ 7 แกลบดำ
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
 
     

3. ขุยมะพร้าว

   
  ภาพที่ 8 ขุยมะพร้าว
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
 
   

4. ปุ๋ยคอก

                 
ภาพที่ 9 แกลบดำ
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
                 
การเตรียมดินปลูกมีวิธีการดังนี้
นำดินร่วน 3 ส่วน แกลบดำ 1 ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
มากองบนพื้นที่เรียบแล้วใช้จอบคลุกเคล้า ผสมไปมาให้วัสดุทุกอย่าง
ผสมเข้ากันโดยจะได้อัตราส่วน ดินร่วน:แกลบดำ:ขุยมะพร้าว:ปุ๋ยคอก (3:1:1:1)
                     
ภาพที่ 12 การผสมดินปลูก
ที่มา : นายประทีป สุ่มสุข ผู้ถ่ายภาพ
                     

หากไม่มีขุยมะพร้าวเราสามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนได้เช่น ใบฉำฉา(ใบก้ามปู) ใบไม้แห้งย่อย ฟางข้าวย่อย